Welcome

Welcome

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

ชนิดของคลื่นและการจำแนก

การจำแนกตามลักษณะของตัวกลาง

   แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. คลื่นกล(Mechanical Waves)
    คือ คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ สามารถถ่ายทอดพลังงานและโมเมนตัม โดยอาศัยความยืดหยุ่นของตัวกลาง เช่น คลื่นเสียง คลื่นน้ำ คลื่นในเส้นเชือก
2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Waves)
    คือ คลื่นที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์

การจำแนกคลื่นตามลักษณะการดำเนินคลื่น

   แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. คลื่นดล(Pulse Wave)
    คือ คลื่นที่เกิดจากการที่แหล่งกำเนิดสั่นเพียงครั้งเดียว ทำให้เกิดคลื่นเพียง 1 ลูก อาจมีลักษณะกระจายออกจากแหล่งกำเนิดเป็นแนวตรงหรือเป็นวงกลมก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของแหล่งกำเนิด เช่น การโยนหินลงไปในน้ำ
2. คลื่นต่อเนื่อง(Continuous Waves)
    คือ คลื่นที่เกิดจากการที่แหล่งกำเนิดสั่นหลายครั้งติดต่อกัน ทำให้เกิดคลื่นหลายๆลูกติดต่อกัน โดยความถี่ของคลื่นที่เกิดขึ้นเท่ากับความถี่ของการรบกวนจากแหล่งกำเนิดคลื่น เช่น คลื่นจากการใช้มอเตอร์

การจำแนกคลื่นตามลักษณะการเคลื่อนที่

   แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้


1. คลื่นตามยาว(Longitudinal Waves)
    คือ คลื่นที่อนุภาคของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน มีการเคลื่อนที่่ไปกลับในทิศทางเดียวกันกับทิศทางที่เคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นเสียง คลื่นที่เกิดจากการอัดและขยายของสปริง


2. คลื่นตามขวาง(Transverse Waves)
    คือ คลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน มีการเคลื่อนที่ไปกลับในทิศทางทางที่ตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นเคลื่อนที่ เช่น คลื่นในเส้นเชือก คลื่นน้ำ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น